วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

The Development of learning materials for Enhance science skill and thinking skill by Using Local Wisdom for Early childhood center of Udonthani Province

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดทั้งการออกแบบและพัฒนาสื่อจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 197 ศูนย์

    พบว่าแหล่งเรียนรู้และชนิดของสื่อ ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่คือแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ 

    หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย การจัดหาสื่อที่ทำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่คือประดิษฐ์ขึ้นเองลักษณะสื่อที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คือสื่อที่เป็นของจริง 

   ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่คือ สื่อที่ผลิตมาไม่มีความคงทน

    จากการออกแบบและพัฒนาสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด
ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า
สื่อชุดที่ 1 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมใน การส่งเสริมทักษะทางการคิด และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ด้าน ความปลอดภัย วัสดุและกระบวนการผลิตและด้านความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 2 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด วัสดุและกระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 3 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ความปลอดภัย และด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับดี

บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"


บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"

   "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

   "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"

   นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

   ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด





แนวการสอน "ลาวาแลมป์"


แนวการสอน "ลาวาแลมป์"

อุปกรณ์

  1. น้ำมันพืช
  2. น้ำเปล่า
  3. ขวดเปล่า
  4. กรวยตวง
  5. สีผสมอาหาร
  6. เม็ดฟู่ (ตามร้านขายยา)
                         


วิธีทำ

  1. ใช้ถ้วยตวง เติมน้ำเปล่า  ลงขวดเปล่า ทั้ง 2 ขวดให้เท่ากันประมาณ 2 นิ้ว
  2. เติมน้ำมันพืชลงทั้ง 2 ขวด ให้เท่ากัน 
  3. เติมสีผสมอาหารลงไป  5-6 หยด 
  4. ใส่เม็ดฟู่ลงไป 



 สีผสมอาหารจะลงมาที่ด้านล่างของขวด ซึ่งเป็นชั้นของน้ำ เมื่อใส่เม็ดฟู่ละไป จะเกิดปฏิกิริยา น้ำด้านล่าง จะพุ่งเป็นหยดน้ำ เหมือนน้ำพุ ขึ้นมาบนผิวน้ำมัน สอนให้เด็กทราบว่า น้ำกับน้ำมันจะแยกส่วนกัน


  คลิกชม : ลาวาแลมป์


วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
แผนการสอนหน่วย ส้ม
  • วันจันทร์ เรื่อง สายพันธ์
  • วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
  • วันพุธ เรื่อง การถนอมอาหาร
  • วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
  • วันศุกร์ เรื่องการแปรรูป ( Cooking)
ตัวอย่างการสอน
วันพุธ เรื่อง การสนอมอาหาร
วัตถุประสงค์
  1. เด็กสามารถบอกวิธีการถนอมอาหารได้
  2. เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้
สาระที่ควรเรียนรู้
      การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธีเช่น ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง 3 รส ส้มแช่อิ่ม

ประสบการณ์สำคัญ
     ด้านร่างกาย : การต่อของ และการแยกชิ้นส่วนออก
     ด้านอารมณ์จิตใจ : การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
     ด้านสังคม :  การเปลี่ยนแปลงความคิดกับการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     ด้านสติปัญญา : การแสดงความรู้ออกด้วยคำพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
  1. ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด
ขั้นสอน
  1. ครูใช้คำถามถามเด็ก ๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้ได้นาน ๆ
  2. ครูนำส้มเชื่อมและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็ก ๆ ดู
  3. ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็ก ๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ
  4. ครูถามเด็ก ๆว่า เด็กๆ ชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน ถ้าเด็ก ๆ ชอบส้มแบบไหนให้เด็ก ๆนำสติกเกอร์สีส้ม ไปติดบนตารางความชอบ
  5. ครูและเด็กช่วยดกันนับจำนวนสติกเกอร์ (แบบหนึ่งต่อหนึ่ง)
ขั้นสรุป
  1. ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากันและถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบเพราะอะไร
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
  1. เกมการศึกษา
  2. ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง 3 รส
  3. ตาราง
  4. สติกเกอร์
 ภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม



ภาพตัดต่อส้มสด


การวัดและประเมินผล
  1. แบบบันทึกการสังเกต : ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่าระหว่างส้มสดและส้มเชือม
การบูรณาการ
  1. วิทยาศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์
  3. สังคม
  4. ภาษา
คำศัพท์
  1. breed:สายพันธ์
  2. type:ลักษณะ
  3. food preservation:ถนอมอาหาร
  4. Warning:ข้อควรระวัง
  5. transform:แปรรูป
การประยุกต์ใช้
 ตัวอย่างการสอนของแต่ละวันในหน่วยต่างๆ ทำให้ได้ทราบถึงกิจกรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ก็เกิดจากหลักเกณฑ์เดียวกัน คือ วันจันทร์ ต้องสอนเกี่ยวกับ ประเภท ชนิด หรือสายพันธุ์ วันอังคาร จะเป็นลักษณะ วันพุธ จะเป็น การแปรรูป หรือการดำรงชีวิต วันพฤหัสบดี จะเป็นประโยชน์ วันศุกร์ เป็นโทษ และ หลักเกณฑ์ทั้งหมดนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนในหน่วยอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ประเมิน
ตนเอง:กลุ่มส้มได้ออกไปสอนกันทุกคน แต่ตัวหนูยังทำได้ไม่ดี จำเนื้อหาไม่ค่อยได้ ไม่มั่นใจตัวเอง 
เพื่อน:เพื่อนตั้งใจทอสอบสอนได้เป็นอย่างดี อาจผิดพลาดบ้าง แต่ก็ทำได้
อาจารย์:อาจารย์คอยแนะนำ ข้อผิดพลาด และบอกวิธีแก้ไขมาอย่างละเอียด


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์


รูปแบบการเคลื่อนไหว
  1. อยู่กับที่ 
  2. เคลื่อนที่
วัตถุประสงค์
  1. ประกอบเพลง : ตามอิสระ
  2. ตามคำบรรยาย : จากความรู้เดิม (วิธีการ)
  3. คำสั่ง : เปลรายนทิศทาง อุปกรณ์ ท่าทาง
  4. ผู้นำผู้ตาม : เมื่อเปลี่ยนคน ให้เด็กเลือกกันเอง
  5. ข้อตกลง : แฝงทุกกิจกรรมได้ (ตัวอื่นเกี่ยวข้องด้วย)
  6. ความจำ : ข้อตกลงหรือคำสั่งอยู่ในความจำ (ตัวอื่นเกี่ยวข้องด้วย)
องค์ประกอบ
  1. ส่วนต่างๆ ของร่างกาย : ใช้ร่างกายทำเสียงตามพยางค์ชื่อจริงของตัวเอง
  2. พื้นที่ : มีแกน เปรียบเทียบ
  3. ระดับ : มีเกณฑ์
  4. ทิศทาง : หน้า หลัง สูง ต่ำ
แผนการจัดประสบการณ์
ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
        วัตถุประสงค์

        สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้

        ส้มมีหลากหลายสายพันธ์ มีส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มจี้ด ส้มจีน มีรูปร่างลักษณะรสชาติแตกต่างกันไป
         ประสบการณ์สำคัญ
1.สังเกตความแตกต่างของส้ม
2.จำแนกส้มแต่ละสายพันธ์ได้

         กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
1.คุณครูพาเด็ก ๆ อ่านคำคล้องจอง 
2.ครูสอบถามเด็กๆ ว่าในคำคล้องจองมี ส้มอะไรบ้าง 
ขั้นสอน 
3.นำตะกร้าคลุมด้วยผ้า มาถามเด็ก ๆ ว่า ในตะกร้ามีส้มอะไรบ้าง 
4.หยิบส้มขึ้นมา 1 ลูก และถามเด็ก ๆ ว่า ส้มอะไร ? 
5.ครูให้เด็กแยกประเภทของส้มแต่ละชนิด โดยครูหยิบออกเป็นตัวอย่างและให้เด็กออกมาหยิบส้มออกจากตะกร้าจนหมด 
6.เมื่อนำออกจากตะกร้าจนครบ ให้เด็ก ๆ หยิบตัวเลขมมากำกับ 
7.ครูถามว่าส้มทั้ง 3 ชนิดนี้ ชนิดใดมากที่สุด 
8.เด็กรู้ได้อย่างไรว่าส้มชนิดนี้มากที่สุด 
9.ครูพาเด็ก ๆพิสูจน์ ด้วยวิธีการนับออก 1 ต่อ ๆ โดยให้เด็กออกมาหยิบส้มแต่ละชนิด จนเหลือส้มชนิดหนึ่งที่เหลืออยู
ขั้นสรุป 
10 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าส้มที่เหลือชนิดสุดท้ายคือกล้วยที่มากที่สุด 11.ครูถามเด็กๆ ว่าวันนี้รู้จักส้มชนิดใดบ้าง

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.ส้มสายน้ำผึ้ง
2.ส้มเขียวหวาน
3.ส้มจี๊ด
4.ส้มจีน
5.ตะกร้า
6.ผ้าคลุมส้ม
7.ตะกร้าเปล่า 4 ใบ

การวัดและประเมินผล
 สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม

การบูรณาการ
 วิทยาศาสตร์
 คณิตศาสตร์
 ศิลปะ

การนำไปประยุกต์ใช้
 ทราบประเภทของการเคลื่อนไหว ลักษณะต่าง ๆ และวิธีการประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยการเรียนการสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแผนการสอนในหน่วยต่างๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

คำศัพท์
  1. Area:พื้นที่
  2. degree:ระดับ 
  3. direction:ทิศทาง 
  4. Orange:ส้ม
  5. mandarin:ส้มจีน

ประเมิน
ตนเอง : บรรยากาศมีความเป็นกันเอง ตั้งใจเรียน สนุกดีค่ะ
เพื่อน : เพื่อนๆ สนใจฟังดี
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายรายละเอียดในการเรียน อย่างละเอียด เปิดโอกาสให้ได้ถาม




วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
  1. เพลงภาษาอังกฤษ 
  2. ทำผีเสื้อจากจานกระดาษ 
  3. วิธีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 
"สาธิตการสอนเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโน ให้แก่คณะศึกษาดูงานจาก
วิทยาลัย p?dagogische hochschule tirol ประเทศออสเตรีย"















เพลงสำหรับการสอนเคลื่อนไหว

Fly Fly Butterfly
Fly, fly, fly the butterfly,
In the meadow is flying high
In the garden is flying low
Fly, fly, fly the butterfly.




Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
then We sit down


Flower Bloom
I’m breathing in
I’m breathing out as flowers bloom
The mountain’s high

The river as sign.
Here and there i breath i fly



การประยุกต์
         สามารถนำวิธีการสอนเด็กเป็นภาษายุกอังกฤษไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมอื่นเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และกิจกรรมอื่นๆได้ และยังสามารถนำเพลงไปใช้สอนจริงได้ หรือนำไปสอนกับเด็กต่างชาติ ได้ในอนาคต

คำศัพท์
  1. Butterfly:ผีเสื้อ
  2. Fly:บิน
  3. meadow:ทุ่งหญ้า
  4. garden:สวน
  5. breathing:การหายใจ

ประเมิน
ตนเอง : เข้าร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจและสนุกสนานมาก
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจฝึกซ้อมและทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่
อาจารย์ : อาจารย์ให้โอกาสไปเข้าร่วมกิจกรรม ได้ความรู้ ได้ปฏิบัติจริง ได้เห็นวิธีการสอนใหม่ ๆ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • พลังปริศนา
  • ขวดบ้าพลัง
  • รถหลอดด้าย
  • ลูกข่างนักสืบ
วีดีโอผลงานการประดิษฐ์

คลิกชม : พลังปริศนา


คลิกชม : ขวดบ้าพลัง


คลิกชม : รถหลอดด้าย




ข้อเสนอแนะ
  1. การแนะนำอุปกรณ์ ต้องมีหน่วยเขียนกำกับทุกครั้ง เช่น ลูกโป่ง 1 ลูก
  2. ตัวอักษรเป็นทางการ ไม่ใช้ตัวอักษร ภาษาวัยรุ่น
  3. มีตัวหนังสือกำกับขณะพูด เพื่อผู้พิการทางสายตา และ รับรู้ข้อมูลชัดเจนขึ้น
  4. มีผังกราฟิกสรุปขั้นตอนการทำตอนสุดท้าย
  5. ไม่ต้องเล่นสื่อให้เด็กดูลงในวีดีโอ เว้นไว้เพื่อให้เด็กได้หาวิธีการเล่นด้วยตนเอง
การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระ

1.คณิตศาสตร์
  • มาตรฐาน
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินงาน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2.วิทยาศาสตร์
  • ทักษะ
ทักษะที่ 1 การสังเกต
ทักษะที่ 2 การวัด
ทักษะที่ 3 การคำนวน
ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท
ทักษะที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปนและสเปสกับเวลา
ทักษะที่ 6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะที่ 8 การพยากร
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมุติฐาน
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะที่ 11 กำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะที่ 12 การทดลอง
ทักษะที่ 13 การแปรความหมายข้อมูลและะลงข้อสรุป
  • มาตรฐาน
มาตรฐานที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐานที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐานที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐานที่ 5 พลังงาน
มาตรฐานที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐานที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐานที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการ
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมุติฐาน
3.ทดลอง
4.วิเคราะห์ข้อมูล
5.สรุปผล

3.ศิลปะ

  1. Drawing:วาด
  2. molding:ปั้น
  3. invention:ประดิษฐ์
  4. color:สี
  5. Prints:พิมพ์ภาพ

4.สังคม
  • การอยู่กับผู้อื่น : งานคู่ งานกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง : งานเดี่ยว
5.สุขศึกษาและพลศึกษา
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • กิจกรรมกลางแจ้ง
การบูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลัก

  1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. เสริมประสบการณ์
  3. ศิลปะ
  4. เสรี
  5. กลางแจ้ง
  6. เกมการศึกษา
การประยุกต์ใช้ 
              สามารถนำวิธีการบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระทั้ง 5 สาระ และ 6 กิจกรรมหลัก ไปใช้กับหน่วยอื่นๆ ได้จริง และยังเป็นการต่อยอดความคิด โดยยคดหลักของมาตรฐานตามกลุ่มสาระต่าง ๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักสูตรที่ได้กำหนดขึ้น

คำศัพท์
  1. Movement:เคลื่อนไหว
  2. rhythm:จัวหวะเสริมประสบการณ์
  3. art:ศิลปะ
  4. Outdoorsกลางแจ้ง
  5. Educational games:เกมการศึกษา

ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่อาจจะยังไม่เข้าใจบางหัวข้อ เพราะเป็นข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน
เพื่อน : เพื่อนช่วยกันคิด และทำกิจกรรม
อาจารย์ : อาจารย์คอยช่วยอธิบายและแนะนำข้อสงสัย



วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การทำ mindmaping
"จะต้องเป็นการ จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก บูรณาการให้เชื่อมโยง สอดคล้อง สัมพันธ์กัน"
    การเขียน Mindmapping จะต้องมี 5 หัวข้อหลัก คือ 
  1. ประเภท/ชนิด/สายพันธ์  
  2. ลักษณะ
  3. การแปรรูป/การถนอมอาหาร/การเจริญเติบโต 
  4. ประโยชน์
  5. ข้อควรระวัง
ความหมาย
  • ประเภท : จะต้องมีเกณฑ์มากำหนด
  • ชนิด : ไม่มีเกณฑ์ (ต้นไม้ สัตว์)
  • สายพันธ์: พืช สัตว์
  • ลักษณะ: สี รสชาติ รูปทรง ผิว ส่วนประกอบ
  • การแปรรูป : ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่นๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
  • การถนอมอาหาร : การเก็บรักษาอาหารให้มีเวลานานขึ้น
  • การเจริญเติบโต: สิ่งมีชีวิต
  • ประโยชน์ 
  • ข้อควรระวัง
  • ข้อดี
  • ข้อเสีย
วิธีการทำ
1.เลือกหน่วยที่จะทำ  "ส้ม"
2.วางแผนการทำ Mindmapping










"ส้ม"
1.ประเภท
- ส้มเขียวหวาน
- ส้มสายน้ำผึ่ง
- ส้มจี๊ด
- ส้มจีน
2.ลักษณะ
 - สี
- รสชาติ
- รูปทรง ทรงกลม ( รูปทรงต้องมีคำว่าทรง)
- ผิว
- ส่วนประกอบ            
3.การแปรรูป(เปลี่ยนเป็นการถนอมอาหาร )
- แยมส้ม
- น้ำส้ม
- ส้มกวน
4.ประโยชน์
- วิตามินซีป้องกันไข้หวัด
- เปลือกใช้ไล่ยุง
- ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- ใส่การแปรรูปในประโยชน์
- ประโยชน์ต้องมีสองด้าน คือ 1.ต่อตนเอง 2.ด้านการพาณิชย์        
5.ข้อควรระวัง
- ระวังน้ำที่เปลือกส้มเข้าตา
- รับประทานมากไปทำให้ท้องเสีย










คำศัพท์
  1. Balance แปลว่า ความสมดุล 
  2. Orange แปลว่า ส้ม 
  3. Whter แปลว่า น้ำ 
  4. Chicken แปลว่า ไก่ 
  5. Banana แปลว่า กล้วย 


การประยุกต์ใช้
       สามารถนำวิธีการใช้คำต่างๆ ในการตั้งหัวข้อได้ถูกต้อง เมื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยต่าง ๆ จะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่น คำว่าประเภท จะต้องมีเกณฑ์ในการจำแนก คำว่าการเจริญติบโต หมายถึงสิ่งมีชีวิต เป็นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ การแปรรูป คือประโยชน์ การถนอมอาหารคือการเก็บรักษา การทำมายแมพ จะต้องมีความสมดุลกันและเป็นการกระจายความคิดอย่างไม่มีที่สิ่นสุด ได้หลากหลาย เหมือนกับเส้นใยของสมอง


ประเมิน
ตนเอง:
ได้รู้เทคนิควิธีการเขียนมายแมพอย่างถูกต้อง
เพื่อน:เพื่อน ๆร่วมกันทำกิจกรรมภายในกลุ่มของตน
ครู:อธิบายวิธีการทำมายแมพให้ฟังอย่างเข้าใจง่ายโดยมีตัวอย่างให้เห็นชัดเจนจากกลุ่มเพื่อน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • แผนผังกราฟิก
  • วิธีการทำสื่อ
"ขวดบ้าพลัง"
วิธีการ

1.เลือกของเล่นที่จะทำ
2.ผลิตสื่อ คือ คลิปวีดีโอวิธีการทำสื่อลง Youtube
3.บอกอุปกรณ์

1) ขวดน้ำ 1 ขวด
2) ลูกโป่ง 1 ลูก
3) หนังยาง 1 เส้น
4) ลูกปิงปอง 2 ลูก
5) กระดาษลัง
6) คัตเตอร์
7) กรรไกร
8) กระดาษกาว
4.วิธีทำ"ขวดบ้าพลัง"
1) ใช้คัตเตอร์ตัดก้นขวดออก
2) ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมที่ขวด
3) ใช้หนังยางลัดลูกโป่งกับขวด จากนั้นนำเทปกาวติดให้แน่น
4) ใช้ลูกปิงปองวางบนกระดาษลังที่เป็นลู่แข่งขัน ที่จุดเริ่มต้น
5) เริ่มการแข่ง
5.กระบวนการสอน
1) ถามเด็ก ๆ ว่า เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง (บนโต๊ะอุปกรณ์ด้านหน้า)
2) ถามเด็ก ๆ ว่า อุปกรณ์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด)
3) เชื่อมโยงความรู้ ให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และอากาศจะเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อย อากาศที่เข้าไปแทนที่จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ
4) ชีวิตประจำวัน  เด็ก ๆ จะทำอะไรได้บ้าง ให้วัตถุเคลื่อนที่ โดยไม่ใช้มือ (เรือใบ)              
5) ประดิษฐ์ : เรามาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือกันดีกว่า (ขวดบ้าพลัง)      
6) เราลองไปหากันดูซิว่า ขวดบ้าพลัง เค้าทำกันแบบไหน (ช่วยกันหาข้อมูล VDO)        
7) ดู VDO จากสื่อที่เราทำ (youtube)
8) สาธิตขั้นตอนการทำ (ทำให้ดูจริงๆ ก่อน )
9) รับอุปกรณ์ (แจกอุปกรณ์หลังการสาธิตป้องกันความวุ่นวาย)
10) ทดลอง (เล่นจริง)
11) สังเกต เก็บข้อมูล (สังเกตลักษณะต่างๆ ของของเล่น)
12) แข่งขัน
13) เปรียบเทียบ โดยการทำตารางกราฟ
14) สรุป : ถามเด็ก ๆ ว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร 

การประยุกต์ใช้
          สามารถบูรณาการเข้ากับหน่วยต่าง ๆ ได้ โดยการเรียนการสอนอาจจะนำวิธีทำสื่อผ่านยูทูปเพื่อสื่อสารกับเด็ก ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ทำให้เด็ก ๆ เกิดประสบการณ์ใหม่ มีความน่าสนใจ อยากที่จะเรียนรู้ และสร้างความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี

คำศัพท์

  1. problem:ปัญหา
  2. hypothesis:สมมุติฐาน
  3. test:ทดสอบ
  4. conclusion:ข้อสรุป
  5. compare:เปรียบเทียบ


ประเมิน
ตนเอง : มีการแบ่งกลุ่มใหม่ 8 คน จึงต้องแยกออกจากกลุ่มเพื่อน จึงต้องปรับตัวกับกลุ่มใหม่ และขาดสมาธิไปบ้างในช่วงแรก เพราะไม่ได้ยินเสียงที่เพื่อนพูด และจับหลักยังไม่ได้ ในช่วงหลัง ๆ พอเข้าใจขึ้น เพราะต้องทำความเข้าใจและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่มสุดท้าย
เพื่อน : บรรยากาศตึงเครียด เพราะเนื้อหามีความละเอียด
อาจารย์ : ่มีเนื้อหาที่ต้องวางแผนเพื่อทำสื่อ จึงมีความตึงเครียดเล็กน้อยในบรรยากาศการเรียนค่ะ แต่ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ถูกต้อง












วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • การทำ Cooking  "ทาโกยากิไข่ข้าว"

ก่อนสอน
แบ่งเด็ก ออกเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์
ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์
ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ


การทำ Cooking  "ทาโกยากิไข่ข้าว"
ขั้นนำ 
  • ร้องเพลงเก็บเด็ก (เพลงสงบเด็ก)

  • เพลงประจำหน่วย



  • วิธีการสอนร้องเพลง
  1. ร้องให้เด็กฟัง : เด็ก ๆ ฟังคุณครูร้องก่อนนะลูก
  2. ให้เด็กร้องตามทีละท่อน : เด็ก ๆ ร้องตามคุณครูทีละท่อนนะคะ
  3. เด็ก ๆ ร้องพร้อมคุณครู : เด็ก ๆ ร้องพร้อมกับคุณครูเลย
ร้องเสร็จให้ถามเด็ก ๆ ว่า : ในเนื้อเพลงนี้ มีอาหารที่มีประโยชน์อะไรบ้างคะ
แล้วเด็ก ๆรู้มั้ย นอกจากนี้ ยังมีอาหารดีมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง ที่เด็ก ๆรู้จัก
ขั้นสอน

เข้าสู่บทเรียน

ให้เด็ก ๆ สังเกตอุปกรณ์ที่วางบนโต๊ะ แล้วถามเด็ก ๆ ว่า
ครู : เด็ก ๆ คิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันคะ ?
เด็ก : ไข่เจียวค่ะ / ข้าวผัด (เด็กๆ ตอบ)
ครู : วันนี้เราจะมาทำ "ทาโกยากิไข่ข้าวกันค่ะ" (แบ่งเด็ก ให้ครบทั้ง 4 ฐาน)
ครู : สอนเด็กทำทาโกยากินก่อน 1 รอบ ก่อนจะ ปล่อยไปตามฐาน 
  • ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์ 
วัตถุดิบและอุปกรณ์

แผ่นชาร์จตัวอย่าง

1)ให้เด็ก ๆ วาดรูป วัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่ใช้ทำ ทาโกยากิไข่้าวลงบนกระดาษนะคะ


ผลงานของเด็ก

ต้องวาดรูปกำกับวัตถุดิบและอุปกรณ์ทุกครั้ง
เพราะเด็กจะเข้าใจภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ


  • ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์

ใช้วัสดุที่เป็นของจริงก่อนหั่น นำมาให้เด็กดู
บางกิจกรรมไม่สามารถทำได้ทุกคน
ครูควรเลือกเด็กมาทำ โดยวางเงื่อนไข
เช่น ใครเรียบร้อยที่สุด คุณครูจะให้มาหั่นแครอท
  • ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส

ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
ในขณะใส่วัสดุต่าง ๆครูควรให้เด็ก ๆนับไปพร้อมๆ กัน
เช่น ไข่ 1 ช้อน ปูอัด 1 ช้อน
  • ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ


ให้คุณครูถามเด็กไปด้วย ตลอดเวลา 
ครู : เราจะรู้ได้ยังไงว่ากระทะร้อนแล้ว
เด็ก : ควันขึ้น
ขั้นสรุป
ทบทวนสิ่งที่ครูสอนมาตั้งแต่แรก เช่น การตั้งคำถาม
ครู : วันนี้เราทำ cooking อะไรกันคะ ?
ครู : วันนี้เราใช้วัตถุดิบอะไรกันไปบ้างคะ
ครู : เด็ก ๆ ชอบทำอะไรมากที่สุดคะ เป็นต้น


การประยุกต์ใช้
      สามารถนำวิธีการต่าง ๆ ไปบูรณาการได้หลายวิชาเช่น วัตถุดิบ สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการช่างตวงวัดได้ บูรณาการวิทยาศาสตร์ เรื่องของมาการีนที่ทอดเมื่อเจอความร้อนจะละลาย บูรณาการศิลปะในเรื่องของการวาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆหรือ การนำจานกระดาษเพื่อมาใส่ทาโกยากิไข่ข่าวที่หมดแล้วไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆได้อีกมากมาย

คำศัพท์
  1. crab:ปูอัด
  2. Hot dog:ฮอทดอก
  3. carrot:แครอท
  4. Onion:หอมหัวใหญ่
  5. tomato:มะเขือเทศ

การประเมิน
ตนเอง : สนุกสนาน ได้ลงมือทำกิจกรรมเอง เป็นประสบการณ์ใหม่ เข้าใจมากค่ะ
เพื่อน : เพื่อนร่วมมือ และสนุกสนานกับกิจกรรมมากค่ะ บรรยากาศเย็น
ครู : รุ่นพี่ปี 5 มาสอน เป็นกันเอง ได้ประสบการณ์ตรง เข้าใจได้ง่าย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

"สอบกลางภาค"

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • คัดลายมือ ครั้งที่ 3
  • จัดประเภทของเล่น
  • ภาพติดตา
  • ภาพหมุน
  • วัดระดับน้ำ
  • ดอกไม้กระดาษ
  • ไข่มีเสียง (กลุ่ม) 
คัดลายมือ ครั้งที่ 3







การบ้าน


                                                                           ภาพติดตา


ภาพหมุน

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  1. แรงต้านอากาศ
  2. ความหนาแน่น
  3. แรงตึงผิว
  4. แรงดันอากาศ
  5. แรงหนีศูนย์กลาง
  6. ความยืดหยุ่น
กิจกรรม มือสามมิติ


วิธีทำ
  1. ให้เด็ก ๆ วาดรูปมือของตนเองบนกระดาษ A4
  2. ให้เด็ก ๆ ขีดเส้น ตรง และ โค้งขึ้นเมื่อถึงมือของตน ตลอดทั้งมือ
  3. ให้เด็ก ๆ ใช้สีขีดใต้เส้นเดิม แต่ใช้สีที่ต่างกัน
  4. จะเกิดเป็นภาพ มือสามมิติ 
  5. สามารถประยุกต์ได้กับหน่วยร่างกายหรือหน่วยอื่นได้มากมาย
วัดระดับน้ำ

หลักการ
  • น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
  • ใช้ในการวัดระดับน้ำ

ดอกไม้บาน



วิธีทำ 
  1. ตัดกระดาษ A4 1 แผ่น ต่อเด็ก 4 คน 
  2. พับกระดาษ  1 ส่วนที่ได้ เป็น 4 ทบ
  3. ใช้กรรไกรตัดตรงมุม เป็นรูปดอกไม้
  4. ระบายสีตรงกลางดอก
  5. พับกลีบ ทั้ง 4 กลีบ
  6. นำไปลอยในอ่างน้ำ


หลักการ
  • น้ำซึมเข้าไปในเยื่อกระดาษ
  • สีละลายซึมลงผิวน้ำ เมื่อชนกันจะเกิดสีใหม่ (ความรู้ใหม่)
  • มวลกระดาษหนักกว่าน้ำ        
  • กระดาษจมลง      
  • เป็นการทดลอง
  • เห็ดหูหนูอบแห้งนำไปแช่น้ำ
  • กระดาษทิชชู่ซับน้ำ
ไข่มีเสียง  (งานกลุ่ม)


วัสดุ/อุปกรณ์ 
  1. ไข่ปลอม
  2. ถาดวางไข่
  3. รังไข่
  4. ถั่วเขียว
  5. ข้าวสาร
  6. เม็ดมะขาม
  7. เม็ดแมงลัก
  8. น้ำมัน
  9. แผ่นเฉลย
  10. ปืนกาว
  11. สีน้ำ
ขั้นตอนการทำ
  1. นำไข่ปลอมทั้งหมด มาเจาะรูด้านบน และใส่วัสดุทั้ง 6 ชนิดลงไป (ชนิดละ 2 ฟอง)
  2. นำปืนกาวยิงเพื่อปิดรูของไข่ที่เจาะไว้ 
  3. ทาสีไข่ทั้งหมด โดยไม่ซ้ำกัน
  4. นำไข่ไปวางบนตะกร้าที่เตรียมไว้
  5. ทำแผ่นเฉลยโดยไข่ที่มี วัสดุชนิดเดียวกันจะอยู่คู่กัน
วิธีเล่น        
      ให้เด็ก ๆ เขย่าไข่ที่อยู่บนตะกร้า เพื่อหาเสียงที่เหมือนกันและนำมาวางจับคู่บนรังไข่ให้ถูกต้อง จากนั้นดูแผ่นเฉลยเพื่อตรวจคำตอบ

หลักการทางวิทยาศาสตร์

คำศัพท์
  1. Flower:ดอกไม้
  2. Hand:มือ
  3. Egg:ไข่
  4. Sound:เสียง
  5. Water:น้ำ

การประยุกต์ใช้
 ภาพติดตาและภาพหมุนสามารถนำไปทำสื่อการสอนในหน่วยอื่นๆ ได้ เช่น หน่วยร่างกายอาจทำเป็น หน้ากับตา และอีกมากมาย วัดระดับน้ำ สามารถนำไปไว้ในมุมเสริมประสบการณ์ มุมวิทยาศาสตร์ และอาจจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างเช่นอาจผสมสีของน้ำให้เป็นสีอื่นๆ ตามต้องการ ดอกไม้กระดาษ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยดอกไม้ หรือ หน่วยอื่นๆ ได้ องเล่นที่เพื่อนนำเสนอ สามารถดัดแปลงเป็นวัสดุ ขนาด หรือรูปทรงที่แตกต่างจากเดิม เพื่อนำมาเป็นสื่อการสอนได้อย่างดี

ประเมิน
ตนเอง : กิจกรรมสนุกสนาน ได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 
สภาพแวดล้อม : อากาศหนาว อาจเสียงดังบ้าง แต่ทำให้การเรียนดูครึกครื้นสนุกสนานดีค่ะ
อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ ๆ และตัวอย่างสื่อมาให้ได้ลองเล่นจริงๆ 

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันอังคารที่ 13 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 
วันอังคารที่ 13 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • วีดีโอ "ความลับของแสง"
  • สาระที่ควรเรียนรู้
  • แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  • เครื่องมือในการเรียนรู้
  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
  • สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
เนื้อหา

คัดลายมือ ครั้งที่ 2



สาระที่ควรเรียนรู้
  1. ตัวฉัน
  2. บุคคลและสถานที่
  3. ธรรมชาติรอบตัว
  4. สิ่งต่างๆ รอบตัว
เครื่องมือในการเรียนรู้
  1. ภาษา
  2. คณิตศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  1. การปรับตัว
  2. ความแตกต่าง
  3. การเปลี่ยนแปลง
  4. การพึ่งอาศัย
  5. ความสมดุล
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  1. ตั้งปัญหาสมมุติฐาน
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. สรุปผล
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
  1. คิดริเริ่ม
  2. คิดคล่องแคล่ว
  3. คิดยืดหยุ่น
  4. คิดละเอียดลออ
  5. คิดสร้างสรรค์
 วีดีโอ "ความลับของแสง"

หลักการสะท้อนแสง




สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1

  • เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต 
  • ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน 
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง
  • และดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2  

  • เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
  •  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ 
  • การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ 
  • และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1   

  • เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต 
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ 
  • มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสต
  • ร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2  

  • เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ 
  • การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก
  • นำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1  

  • เข้าใจสมบัติของสาร   
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
  •  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
  • สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  

  • เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร 
  • การเกิดสารละลาย 
  • การเกิดปฏิกิริยา 
  • มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
  • สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1  

  • เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า 
  • แรงโน้มถ่วง 
  • และแรงนิวเคลียร์  
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 
  • สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ อย่างถูกต้อง
  • และมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว4.2

  • เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
  • สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1

  • เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต 
  • การเปลี่ยนรูปพลังงาน 
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  
  • ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 

  • เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก 
  • ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก 
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 

  • เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ 
  • กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก 
  • มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  
  • การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 

  • เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ
  • และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  
  • มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1  

  • ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ 
  • การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน 
  • สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ 
  • เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
คำศัพท์
  1. standard:
    มาตรฐาน
  2. organism:
    สิ่งมีชีวิต
  3. environment:
    สิ่งแวดล้อม
  4. energy:
    พลังงาน
  5. astronomy:
    ดาราศาสตร์
การประยุกต์ใช้
      สามารถนำหลักการกระบวนการมาใช้ในการเขียนแผนการสอนได้ในอนาคต


ประเมิน
ตนเอง : ตอบคำถามได้ บทเรียนน่าสนใจ ไม่มีสมาธิเท่าที่ควร
สภาพแวดล้อม : บรรยากาศในห้องอึมครึม ฝนตก ห้ตองแคบ แอร์เย็น
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้ลึกซึ้ง มีของเล่นตัวอย่างและวีดีโอเป็นสื่อการสอน ทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 6 กันยายน  2559


ความรู้ที่ได้รับ
  • VDO
  • นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
รายละเอียดของเล่น
  1. ชื่อ
  2. อุปกรณ์
  3. วิธีการ
  4. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  5. บูรณาการ

1.ชื่อ "ธนูจิ๋ว"


           
2.อุปกรณ์


1.ไม้ไอติม


2.ยาง


3.คัตเติ้ลบัต


      3.วิธีการ
  1. เตรียมอุปกรณ์
  2. ผ่าไม้ไอดิมหัวท้ายออกอย่างละนิดเพื่อยึดยางทั้งสองข้าง
  3. ใส่ยางที่ไม้ไอติมทั้งสองข้าง
  4. ใช้คัตเติ้ลบัตง้างยางออกคล้ายกำลังจะยิงธนู

      4.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 ธนูจิ๋ว เป็นของเล่นที่ได้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของ ความยืดหยุ่น โดย ยางจะมีคุณสมบัติยืดหยุ่น เมื่อเราดึงเส้นยางแล้วยางจะยืดออกไปได้ แต่เมื่อปล่อยแรงดึง เส้นยางจะกลับคืนสภาพเดิม

      5.บูรณาการ
  สามารถใช้อุปกรณ์อื่นเช่น เชือก เอ็น แทนหนังยางได้ และสามารถเปลี่ยนคันธนูจากไม้ไอติมเป็นพลาสติกหรือสิ่งของรอบตัวได้เช่นกัน

การนำไปประยุกต์ใช้
 สามารถนำขั้นตอนการคิด และวิธีการประดิษฐ์ ไปปรับใช้กับแผนการสอน ในหน่วยอื่น ๆ และนำไปประยุกต์ต่อยอดกับวิชาต่างๆ ได้

ประเมิน
ตนเอง : สามารถนำเสนอของเล่นได้อย่างถูกต้อง และนำของเล่นไปส่งได้ตามเวลา
เพื่อน : อาจติดปัญหา ของเล่นซ้ำกัน ไม่ได้เอาของเล่นมา ในบางคน
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายหลักของวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องให้ได้ทราบ และแนะนำวิธีการคิดของเล่น