วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • แผนผังกราฟิก
  • วิธีการทำสื่อ
"ขวดบ้าพลัง"
วิธีการ

1.เลือกของเล่นที่จะทำ
2.ผลิตสื่อ คือ คลิปวีดีโอวิธีการทำสื่อลง Youtube
3.บอกอุปกรณ์

1) ขวดน้ำ 1 ขวด
2) ลูกโป่ง 1 ลูก
3) หนังยาง 1 เส้น
4) ลูกปิงปอง 2 ลูก
5) กระดาษลัง
6) คัตเตอร์
7) กรรไกร
8) กระดาษกาว
4.วิธีทำ"ขวดบ้าพลัง"
1) ใช้คัตเตอร์ตัดก้นขวดออก
2) ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมที่ขวด
3) ใช้หนังยางลัดลูกโป่งกับขวด จากนั้นนำเทปกาวติดให้แน่น
4) ใช้ลูกปิงปองวางบนกระดาษลังที่เป็นลู่แข่งขัน ที่จุดเริ่มต้น
5) เริ่มการแข่ง
5.กระบวนการสอน
1) ถามเด็ก ๆ ว่า เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง (บนโต๊ะอุปกรณ์ด้านหน้า)
2) ถามเด็ก ๆ ว่า อุปกรณ์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด)
3) เชื่อมโยงความรู้ ให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และอากาศจะเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อย อากาศที่เข้าไปแทนที่จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ
4) ชีวิตประจำวัน  เด็ก ๆ จะทำอะไรได้บ้าง ให้วัตถุเคลื่อนที่ โดยไม่ใช้มือ (เรือใบ)              
5) ประดิษฐ์ : เรามาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือกันดีกว่า (ขวดบ้าพลัง)      
6) เราลองไปหากันดูซิว่า ขวดบ้าพลัง เค้าทำกันแบบไหน (ช่วยกันหาข้อมูล VDO)        
7) ดู VDO จากสื่อที่เราทำ (youtube)
8) สาธิตขั้นตอนการทำ (ทำให้ดูจริงๆ ก่อน )
9) รับอุปกรณ์ (แจกอุปกรณ์หลังการสาธิตป้องกันความวุ่นวาย)
10) ทดลอง (เล่นจริง)
11) สังเกต เก็บข้อมูล (สังเกตลักษณะต่างๆ ของของเล่น)
12) แข่งขัน
13) เปรียบเทียบ โดยการทำตารางกราฟ
14) สรุป : ถามเด็ก ๆ ว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร 

การประยุกต์ใช้
          สามารถบูรณาการเข้ากับหน่วยต่าง ๆ ได้ โดยการเรียนการสอนอาจจะนำวิธีทำสื่อผ่านยูทูปเพื่อสื่อสารกับเด็ก ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ทำให้เด็ก ๆ เกิดประสบการณ์ใหม่ มีความน่าสนใจ อยากที่จะเรียนรู้ และสร้างความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี

คำศัพท์

  1. problem:ปัญหา
  2. hypothesis:สมมุติฐาน
  3. test:ทดสอบ
  4. conclusion:ข้อสรุป
  5. compare:เปรียบเทียบ


ประเมิน
ตนเอง : มีการแบ่งกลุ่มใหม่ 8 คน จึงต้องแยกออกจากกลุ่มเพื่อน จึงต้องปรับตัวกับกลุ่มใหม่ และขาดสมาธิไปบ้างในช่วงแรก เพราะไม่ได้ยินเสียงที่เพื่อนพูด และจับหลักยังไม่ได้ ในช่วงหลัง ๆ พอเข้าใจขึ้น เพราะต้องทำความเข้าใจและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่มสุดท้าย
เพื่อน : บรรยากาศตึงเครียด เพราะเนื้อหามีความละเอียด
อาจารย์ : ่มีเนื้อหาที่ต้องวางแผนเพื่อทำสื่อ จึงมีความตึงเครียดเล็กน้อยในบรรยากาศการเรียนค่ะ แต่ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ถูกต้อง












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น