วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
  • คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
  • ทฤษฏีการเรียนรู้
  • การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
  • การเรียนรู้แบบองค์รวม


เด็กอายุ 3 ปี 



พัฒนาการด้านร่างกาย

  1. กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
  2. รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
  3. เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
  4. เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  5. ใช้กรรไกรมือเดียวได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  1. แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
  2. ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
  3. กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม

  1. รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  2. ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
  3. เล่นสมมติได้
  4. รู้จักการรอคอย

พัฒนาการด้านสติปัญญา

  1. สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
  2. บอกชื่อของตนเองได้
  3. ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  4. สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
  5. สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  6. ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
  7. รู้จักใช้คำถาม อะไร
  8. สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
  9. อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว

เด็กอายุ 4 ปี


พัฒนาการด้านร่างกาย
  1. กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
  2. รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
  3. เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
  4. เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  5. ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
  6. กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  1. แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
  2. เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  3. ชอบท้าทายผู้ใหญ่
  4. ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม

  1. เล่นร่วมกับคนอื่นได้
  2. รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
  3. แบ่งของให้คนอื่น
  4. เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา

  1. จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  2. บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
  3. พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
  4. สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
  5. สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
  6. รู้จักใช้คำถามว่าทำไม

เด็กอายุ 5 ปี

พัฒนาการด้านร่างกาย

  1. กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
  2. รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  3. เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
  4. เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  5. ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  6. ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
  7. ยืดตัว คล่องเเคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

  1. แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
  2. ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  3. ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม

  1. ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  2. เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
  3. พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
  4. รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
  5. รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา

  1. บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  2. บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
  3. พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  4. โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
  5. สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  6. รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
  7. เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม



ทฤษฏีการเรียนรู้


  • พาฟลอฟ

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) 
     ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข

ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลายๆครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 
        การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์

     Pavlov พบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจะหลั่งน้ำลายหลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้สิ่งเร้าคือ อาหารเป็นสิ่งเร้าที่แท้จริง หรือ สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข ( unconditioned stimulus ) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือ สิ่งเร้ามีเงื่อนไข ( conditioned stimulus )


  •  วัตสัน (Watson)

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ( การทดลองของ Watson )
   ความรู้สึกบางอย่างมีมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ฯลฯ
การทดลองของ Watson

   วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albert อายุประมาณ 2 ขวบ โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน จุดประสงค์ของการทดลองคือการให้ Albert เอื้อมมือจะจับหนู Watson ใช้ค้อนตีเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัว หลังจากนั้น เด็กแสดงอาการกลัวหนูถึงแม้ไม่ได้ยินเสียงฆ้องตีดังๆ ก็ตาม ในสถานการณ์เช่นรี้เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติกับหนู
 
     จากการทดลองของ Watson ปรากฎว่า Albert มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมทั้งเสื้อที่มีขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้
  • กีเซลล์ (Gesell)
  1. ของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน 
  2. เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  3. การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวการใช้ภาษาการปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง 
  4. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง 
  5. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตาจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำ
  • ฟรอยด์ ( Freud )
  1. ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 
  2. หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพีงพอจะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กการปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
  3. ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าที วาจา 
  4. จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากง่ายไปหายาก
  5. จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
  • อิริคสัน ( Erikson )
  1. ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
  2. ด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
  3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
  • เพียเจท์ ( Piaget )
  1. พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
  2. เด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
  3. มีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( 0-6 ปี )
         1) ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว วัย 0-2ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
         2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2-6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้ จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

  1. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  3. จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนกเปรียบเทียบ
  4. จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผล เลือกและตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
  5. จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
  • ดิวอี้ ( Dewey )
  1. เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
  2. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ 
  3. พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู 
  4. จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ
  • สกินเนอร์ ( Skinner )
  1. ถ้าเด็กได้รับการชมเชยและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กสนใจที่ทำต่อไป
  2. เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
  3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ 
  4. ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
  • เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )
  1. ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา 
  2. เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
  3. เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
  4. การปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ความรักให้เวลาและให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
  • เฟรอเบล ( Froeble )
  1. ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อย่างเสรี 
  2. การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก 
  3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก 
  4. จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
  • เอลคายน์ ( Elkind )
  1. การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เด็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
  2. เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
  3. การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  4. จัดบรรยายกาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
  5. การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
  • การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


  • การเรียนรู้แบบองค์รวม


การประยุกต์ใช้ 
 การทราบถึงรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับคุณลักษณะตามวัยได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ และ ทฤษฏีต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก ในช่วงอายุต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 

คำศัพท์

  1. body:ร่างกาย
  2. Emotion:อารมณ์
  3. mind:จิตใจ
  4. social:สังคม
  5. intelligence:สติปัญญา
ประเมิน
ตนเอง:เนื้อหาเข้าใจง่าย เป็นระบบ 
เพื่อน:เพื่อนตั้งใจเรียนดี มีชีสประกอบ
อาจารย์:อาจารย์มีเอกสารแจกให้ เนื้อหาเข้าใจง่าย รวบรัดดีค่ะ อยากให้อาจารย์มีเอกสารอ้างอิงทฤษฏี หรือคีย์เวิดของคำบางเนื้อหาที่ต้องจำไปสอน แต่เว้นคำอธิบายไว้ให้กลับไปเติมลงบล็อคตามความเข้าใจของแต่ละคนเอง จะได้เข้าใจหัวเรื่อง หรือคีย์เวิดของคำไปในทางเดียวกันทั้งเซคค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น