วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

The Development of learning materials for Enhance science skill and thinking skill by Using Local Wisdom for Early childhood center of Udonthani Province

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดทั้งการออกแบบและพัฒนาสื่อจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 197 ศูนย์

    พบว่าแหล่งเรียนรู้และชนิดของสื่อ ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่คือแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ 

    หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย การจัดหาสื่อที่ทำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่คือประดิษฐ์ขึ้นเองลักษณะสื่อที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คือสื่อที่เป็นของจริง 

   ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่คือ สื่อที่ผลิตมาไม่มีความคงทน

    จากการออกแบบและพัฒนาสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด
ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า
สื่อชุดที่ 1 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมใน การส่งเสริมทักษะทางการคิด และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ด้าน ความปลอดภัย วัสดุและกระบวนการผลิตและด้านความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 2 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด วัสดุและกระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 3 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ความปลอดภัย และด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับดี

บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"


บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"

   "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

   "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"

   นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

   ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด





แนวการสอน "ลาวาแลมป์"


แนวการสอน "ลาวาแลมป์"

อุปกรณ์

  1. น้ำมันพืช
  2. น้ำเปล่า
  3. ขวดเปล่า
  4. กรวยตวง
  5. สีผสมอาหาร
  6. เม็ดฟู่ (ตามร้านขายยา)
                         


วิธีทำ

  1. ใช้ถ้วยตวง เติมน้ำเปล่า  ลงขวดเปล่า ทั้ง 2 ขวดให้เท่ากันประมาณ 2 นิ้ว
  2. เติมน้ำมันพืชลงทั้ง 2 ขวด ให้เท่ากัน 
  3. เติมสีผสมอาหารลงไป  5-6 หยด 
  4. ใส่เม็ดฟู่ลงไป 



 สีผสมอาหารจะลงมาที่ด้านล่างของขวด ซึ่งเป็นชั้นของน้ำ เมื่อใส่เม็ดฟู่ละไป จะเกิดปฏิกิริยา น้ำด้านล่าง จะพุ่งเป็นหยดน้ำ เหมือนน้ำพุ ขึ้นมาบนผิวน้ำมัน สอนให้เด็กทราบว่า น้ำกับน้ำมันจะแยกส่วนกัน


  คลิกชม : ลาวาแลมป์


วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
แผนการสอนหน่วย ส้ม
  • วันจันทร์ เรื่อง สายพันธ์
  • วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
  • วันพุธ เรื่อง การถนอมอาหาร
  • วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
  • วันศุกร์ เรื่องการแปรรูป ( Cooking)
ตัวอย่างการสอน
วันพุธ เรื่อง การสนอมอาหาร
วัตถุประสงค์
  1. เด็กสามารถบอกวิธีการถนอมอาหารได้
  2. เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้
สาระที่ควรเรียนรู้
      การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธีเช่น ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง 3 รส ส้มแช่อิ่ม

ประสบการณ์สำคัญ
     ด้านร่างกาย : การต่อของ และการแยกชิ้นส่วนออก
     ด้านอารมณ์จิตใจ : การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
     ด้านสังคม :  การเปลี่ยนแปลงความคิดกับการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     ด้านสติปัญญา : การแสดงความรู้ออกด้วยคำพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
  1. ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด
ขั้นสอน
  1. ครูใช้คำถามถามเด็ก ๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้ได้นาน ๆ
  2. ครูนำส้มเชื่อมและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็ก ๆ ดู
  3. ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็ก ๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ
  4. ครูถามเด็ก ๆว่า เด็กๆ ชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน ถ้าเด็ก ๆ ชอบส้มแบบไหนให้เด็ก ๆนำสติกเกอร์สีส้ม ไปติดบนตารางความชอบ
  5. ครูและเด็กช่วยดกันนับจำนวนสติกเกอร์ (แบบหนึ่งต่อหนึ่ง)
ขั้นสรุป
  1. ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากันและถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบเพราะอะไร
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
  1. เกมการศึกษา
  2. ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง 3 รส
  3. ตาราง
  4. สติกเกอร์
 ภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม



ภาพตัดต่อส้มสด


การวัดและประเมินผล
  1. แบบบันทึกการสังเกต : ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่าระหว่างส้มสดและส้มเชือม
การบูรณาการ
  1. วิทยาศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์
  3. สังคม
  4. ภาษา
คำศัพท์
  1. breed:สายพันธ์
  2. type:ลักษณะ
  3. food preservation:ถนอมอาหาร
  4. Warning:ข้อควรระวัง
  5. transform:แปรรูป
การประยุกต์ใช้
 ตัวอย่างการสอนของแต่ละวันในหน่วยต่างๆ ทำให้ได้ทราบถึงกิจกรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ก็เกิดจากหลักเกณฑ์เดียวกัน คือ วันจันทร์ ต้องสอนเกี่ยวกับ ประเภท ชนิด หรือสายพันธุ์ วันอังคาร จะเป็นลักษณะ วันพุธ จะเป็น การแปรรูป หรือการดำรงชีวิต วันพฤหัสบดี จะเป็นประโยชน์ วันศุกร์ เป็นโทษ และ หลักเกณฑ์ทั้งหมดนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนในหน่วยอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ประเมิน
ตนเอง:กลุ่มส้มได้ออกไปสอนกันทุกคน แต่ตัวหนูยังทำได้ไม่ดี จำเนื้อหาไม่ค่อยได้ ไม่มั่นใจตัวเอง 
เพื่อน:เพื่อนตั้งใจทอสอบสอนได้เป็นอย่างดี อาจผิดพลาดบ้าง แต่ก็ทำได้
อาจารย์:อาจารย์คอยแนะนำ ข้อผิดพลาด และบอกวิธีแก้ไขมาอย่างละเอียด


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์


รูปแบบการเคลื่อนไหว
  1. อยู่กับที่ 
  2. เคลื่อนที่
วัตถุประสงค์
  1. ประกอบเพลง : ตามอิสระ
  2. ตามคำบรรยาย : จากความรู้เดิม (วิธีการ)
  3. คำสั่ง : เปลรายนทิศทาง อุปกรณ์ ท่าทาง
  4. ผู้นำผู้ตาม : เมื่อเปลี่ยนคน ให้เด็กเลือกกันเอง
  5. ข้อตกลง : แฝงทุกกิจกรรมได้ (ตัวอื่นเกี่ยวข้องด้วย)
  6. ความจำ : ข้อตกลงหรือคำสั่งอยู่ในความจำ (ตัวอื่นเกี่ยวข้องด้วย)
องค์ประกอบ
  1. ส่วนต่างๆ ของร่างกาย : ใช้ร่างกายทำเสียงตามพยางค์ชื่อจริงของตัวเอง
  2. พื้นที่ : มีแกน เปรียบเทียบ
  3. ระดับ : มีเกณฑ์
  4. ทิศทาง : หน้า หลัง สูง ต่ำ
แผนการจัดประสบการณ์
ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
        วัตถุประสงค์

        สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้

        ส้มมีหลากหลายสายพันธ์ มีส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มจี้ด ส้มจีน มีรูปร่างลักษณะรสชาติแตกต่างกันไป
         ประสบการณ์สำคัญ
1.สังเกตความแตกต่างของส้ม
2.จำแนกส้มแต่ละสายพันธ์ได้

         กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
1.คุณครูพาเด็ก ๆ อ่านคำคล้องจอง 
2.ครูสอบถามเด็กๆ ว่าในคำคล้องจองมี ส้มอะไรบ้าง 
ขั้นสอน 
3.นำตะกร้าคลุมด้วยผ้า มาถามเด็ก ๆ ว่า ในตะกร้ามีส้มอะไรบ้าง 
4.หยิบส้มขึ้นมา 1 ลูก และถามเด็ก ๆ ว่า ส้มอะไร ? 
5.ครูให้เด็กแยกประเภทของส้มแต่ละชนิด โดยครูหยิบออกเป็นตัวอย่างและให้เด็กออกมาหยิบส้มออกจากตะกร้าจนหมด 
6.เมื่อนำออกจากตะกร้าจนครบ ให้เด็ก ๆ หยิบตัวเลขมมากำกับ 
7.ครูถามว่าส้มทั้ง 3 ชนิดนี้ ชนิดใดมากที่สุด 
8.เด็กรู้ได้อย่างไรว่าส้มชนิดนี้มากที่สุด 
9.ครูพาเด็ก ๆพิสูจน์ ด้วยวิธีการนับออก 1 ต่อ ๆ โดยให้เด็กออกมาหยิบส้มแต่ละชนิด จนเหลือส้มชนิดหนึ่งที่เหลืออยู
ขั้นสรุป 
10 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าส้มที่เหลือชนิดสุดท้ายคือกล้วยที่มากที่สุด 11.ครูถามเด็กๆ ว่าวันนี้รู้จักส้มชนิดใดบ้าง

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.ส้มสายน้ำผึ้ง
2.ส้มเขียวหวาน
3.ส้มจี๊ด
4.ส้มจีน
5.ตะกร้า
6.ผ้าคลุมส้ม
7.ตะกร้าเปล่า 4 ใบ

การวัดและประเมินผล
 สังเกตการสนทนาและตอบคำถาม

การบูรณาการ
 วิทยาศาสตร์
 คณิตศาสตร์
 ศิลปะ

การนำไปประยุกต์ใช้
 ทราบประเภทของการเคลื่อนไหว ลักษณะต่าง ๆ และวิธีการประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยการเรียนการสอน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแผนการสอนในหน่วยต่างๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

คำศัพท์
  1. Area:พื้นที่
  2. degree:ระดับ 
  3. direction:ทิศทาง 
  4. Orange:ส้ม
  5. mandarin:ส้มจีน

ประเมิน
ตนเอง : บรรยากาศมีความเป็นกันเอง ตั้งใจเรียน สนุกดีค่ะ
เพื่อน : เพื่อนๆ สนใจฟังดี
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายรายละเอียดในการเรียน อย่างละเอียด เปิดโอกาสให้ได้ถาม




วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
  1. เพลงภาษาอังกฤษ 
  2. ทำผีเสื้อจากจานกระดาษ 
  3. วิธีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 
"สาธิตการสอนเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเปียโน ให้แก่คณะศึกษาดูงานจาก
วิทยาลัย p?dagogische hochschule tirol ประเทศออสเตรีย"















เพลงสำหรับการสอนเคลื่อนไหว

Fly Fly Butterfly
Fly, fly, fly the butterfly,
In the meadow is flying high
In the garden is flying low
Fly, fly, fly the butterfly.




Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
Hand Holding in Circle
then We sit down


Flower Bloom
I’m breathing in
I’m breathing out as flowers bloom
The mountain’s high

The river as sign.
Here and there i breath i fly



การประยุกต์
         สามารถนำวิธีการสอนเด็กเป็นภาษายุกอังกฤษไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมอื่นเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และกิจกรรมอื่นๆได้ และยังสามารถนำเพลงไปใช้สอนจริงได้ หรือนำไปสอนกับเด็กต่างชาติ ได้ในอนาคต

คำศัพท์
  1. Butterfly:ผีเสื้อ
  2. Fly:บิน
  3. meadow:ทุ่งหญ้า
  4. garden:สวน
  5. breathing:การหายใจ

ประเมิน
ตนเอง : เข้าร่วมกิจกรรมอย่างตั้งใจและสนุกสนานมาก
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจฝึกซ้อมและทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่
อาจารย์ : อาจารย์ให้โอกาสไปเข้าร่วมกิจกรรม ได้ความรู้ ได้ปฏิบัติจริง ได้เห็นวิธีการสอนใหม่ ๆ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • พลังปริศนา
  • ขวดบ้าพลัง
  • รถหลอดด้าย
  • ลูกข่างนักสืบ
วีดีโอผลงานการประดิษฐ์

คลิกชม : พลังปริศนา


คลิกชม : ขวดบ้าพลัง


คลิกชม : รถหลอดด้าย




ข้อเสนอแนะ
  1. การแนะนำอุปกรณ์ ต้องมีหน่วยเขียนกำกับทุกครั้ง เช่น ลูกโป่ง 1 ลูก
  2. ตัวอักษรเป็นทางการ ไม่ใช้ตัวอักษร ภาษาวัยรุ่น
  3. มีตัวหนังสือกำกับขณะพูด เพื่อผู้พิการทางสายตา และ รับรู้ข้อมูลชัดเจนขึ้น
  4. มีผังกราฟิกสรุปขั้นตอนการทำตอนสุดท้าย
  5. ไม่ต้องเล่นสื่อให้เด็กดูลงในวีดีโอ เว้นไว้เพื่อให้เด็กได้หาวิธีการเล่นด้วยตนเอง
การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระ

1.คณิตศาสตร์
  • มาตรฐาน
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินงาน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

2.วิทยาศาสตร์
  • ทักษะ
ทักษะที่ 1 การสังเกต
ทักษะที่ 2 การวัด
ทักษะที่ 3 การคำนวน
ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท
ทักษะที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปนและสเปสกับเวลา
ทักษะที่ 6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะที่ 8 การพยากร
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมุติฐาน
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะที่ 11 กำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะที่ 12 การทดลอง
ทักษะที่ 13 การแปรความหมายข้อมูลและะลงข้อสรุป
  • มาตรฐาน
มาตรฐานที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐานที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐานที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐานที่ 5 พลังงาน
มาตรฐานที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐานที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐานที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการ
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมุติฐาน
3.ทดลอง
4.วิเคราะห์ข้อมูล
5.สรุปผล

3.ศิลปะ

  1. Drawing:วาด
  2. molding:ปั้น
  3. invention:ประดิษฐ์
  4. color:สี
  5. Prints:พิมพ์ภาพ

4.สังคม
  • การอยู่กับผู้อื่น : งานคู่ งานกลุ่ม
  • การช่วยเหลือตนเอง : งานเดี่ยว
5.สุขศึกษาและพลศึกษา
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • กิจกรรมกลางแจ้ง
การบูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลัก

  1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. เสริมประสบการณ์
  3. ศิลปะ
  4. เสรี
  5. กลางแจ้ง
  6. เกมการศึกษา
การประยุกต์ใช้ 
              สามารถนำวิธีการบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระทั้ง 5 สาระ และ 6 กิจกรรมหลัก ไปใช้กับหน่วยอื่นๆ ได้จริง และยังเป็นการต่อยอดความคิด โดยยคดหลักของมาตรฐานตามกลุ่มสาระต่าง ๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักสูตรที่ได้กำหนดขึ้น

คำศัพท์
  1. Movement:เคลื่อนไหว
  2. rhythm:จัวหวะเสริมประสบการณ์
  3. art:ศิลปะ
  4. Outdoorsกลางแจ้ง
  5. Educational games:เกมการศึกษา

ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน แต่อาจจะยังไม่เข้าใจบางหัวข้อ เพราะเป็นข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน
เพื่อน : เพื่อนช่วยกันคิด และทำกิจกรรม
อาจารย์ : อาจารย์คอยช่วยอธิบายและแนะนำข้อสงสัย