วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

งานวิจัย "การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี"

The Development of learning materials for Enhance science skill and thinking skill by Using Local Wisdom for Early childhood center of Udonthani Province

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดทั้งการออกแบบและพัฒนาสื่อจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 197 ศูนย์

    พบว่าแหล่งเรียนรู้และชนิดของสื่อ ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่คือแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ 

    หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย การจัดหาสื่อที่ทำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่คือประดิษฐ์ขึ้นเองลักษณะสื่อที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คือสื่อที่เป็นของจริง 

   ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่คือ สื่อที่ผลิตมาไม่มีความคงทน

    จากการออกแบบและพัฒนาสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 3 ชุด
ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า
สื่อชุดที่ 1 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมใน การส่งเสริมทักษะทางการคิด และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ด้าน ความปลอดภัย วัสดุและกระบวนการผลิตและด้านความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 2 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด วัสดุและกระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี 
สื่อชุดที่ 3 มีความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ความปลอดภัย และด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับดี

บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"


บทความ "5 แนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล"

   "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

   "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"

   นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์

   ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด





แนวการสอน "ลาวาแลมป์"


แนวการสอน "ลาวาแลมป์"

อุปกรณ์

  1. น้ำมันพืช
  2. น้ำเปล่า
  3. ขวดเปล่า
  4. กรวยตวง
  5. สีผสมอาหาร
  6. เม็ดฟู่ (ตามร้านขายยา)
                         


วิธีทำ

  1. ใช้ถ้วยตวง เติมน้ำเปล่า  ลงขวดเปล่า ทั้ง 2 ขวดให้เท่ากันประมาณ 2 นิ้ว
  2. เติมน้ำมันพืชลงทั้ง 2 ขวด ให้เท่ากัน 
  3. เติมสีผสมอาหารลงไป  5-6 หยด 
  4. ใส่เม็ดฟู่ลงไป 



 สีผสมอาหารจะลงมาที่ด้านล่างของขวด ซึ่งเป็นชั้นของน้ำ เมื่อใส่เม็ดฟู่ละไป จะเกิดปฏิกิริยา น้ำด้านล่าง จะพุ่งเป็นหยดน้ำ เหมือนน้ำพุ ขึ้นมาบนผิวน้ำมัน สอนให้เด็กทราบว่า น้ำกับน้ำมันจะแยกส่วนกัน


  คลิกชม : ลาวาแลมป์