วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การทำ mindmaping
"จะต้องเป็นการ จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก บูรณาการให้เชื่อมโยง สอดคล้อง สัมพันธ์กัน"
    การเขียน Mindmapping จะต้องมี 5 หัวข้อหลัก คือ 
  1. ประเภท/ชนิด/สายพันธ์  
  2. ลักษณะ
  3. การแปรรูป/การถนอมอาหาร/การเจริญเติบโต 
  4. ประโยชน์
  5. ข้อควรระวัง
ความหมาย
  • ประเภท : จะต้องมีเกณฑ์มากำหนด
  • ชนิด : ไม่มีเกณฑ์ (ต้นไม้ สัตว์)
  • สายพันธ์: พืช สัตว์
  • ลักษณะ: สี รสชาติ รูปทรง ผิว ส่วนประกอบ
  • การแปรรูป : ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่นๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
  • การถนอมอาหาร : การเก็บรักษาอาหารให้มีเวลานานขึ้น
  • การเจริญเติบโต: สิ่งมีชีวิต
  • ประโยชน์ 
  • ข้อควรระวัง
  • ข้อดี
  • ข้อเสีย
วิธีการทำ
1.เลือกหน่วยที่จะทำ  "ส้ม"
2.วางแผนการทำ Mindmapping










"ส้ม"
1.ประเภท
- ส้มเขียวหวาน
- ส้มสายน้ำผึ่ง
- ส้มจี๊ด
- ส้มจีน
2.ลักษณะ
 - สี
- รสชาติ
- รูปทรง ทรงกลม ( รูปทรงต้องมีคำว่าทรง)
- ผิว
- ส่วนประกอบ            
3.การแปรรูป(เปลี่ยนเป็นการถนอมอาหาร )
- แยมส้ม
- น้ำส้ม
- ส้มกวน
4.ประโยชน์
- วิตามินซีป้องกันไข้หวัด
- เปลือกใช้ไล่ยุง
- ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
- ใส่การแปรรูปในประโยชน์
- ประโยชน์ต้องมีสองด้าน คือ 1.ต่อตนเอง 2.ด้านการพาณิชย์        
5.ข้อควรระวัง
- ระวังน้ำที่เปลือกส้มเข้าตา
- รับประทานมากไปทำให้ท้องเสีย










คำศัพท์
  1. Balance แปลว่า ความสมดุล 
  2. Orange แปลว่า ส้ม 
  3. Whter แปลว่า น้ำ 
  4. Chicken แปลว่า ไก่ 
  5. Banana แปลว่า กล้วย 


การประยุกต์ใช้
       สามารถนำวิธีการใช้คำต่างๆ ในการตั้งหัวข้อได้ถูกต้อง เมื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยต่าง ๆ จะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่น คำว่าประเภท จะต้องมีเกณฑ์ในการจำแนก คำว่าการเจริญติบโต หมายถึงสิ่งมีชีวิต เป็นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ การแปรรูป คือประโยชน์ การถนอมอาหารคือการเก็บรักษา การทำมายแมพ จะต้องมีความสมดุลกันและเป็นการกระจายความคิดอย่างไม่มีที่สิ่นสุด ได้หลากหลาย เหมือนกับเส้นใยของสมอง


ประเมิน
ตนเอง:
ได้รู้เทคนิควิธีการเขียนมายแมพอย่างถูกต้อง
เพื่อน:เพื่อน ๆร่วมกันทำกิจกรรมภายในกลุ่มของตน
ครู:อธิบายวิธีการทำมายแมพให้ฟังอย่างเข้าใจง่ายโดยมีตัวอย่างให้เห็นชัดเจนจากกลุ่มเพื่อน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • แผนผังกราฟิก
  • วิธีการทำสื่อ
"ขวดบ้าพลัง"
วิธีการ

1.เลือกของเล่นที่จะทำ
2.ผลิตสื่อ คือ คลิปวีดีโอวิธีการทำสื่อลง Youtube
3.บอกอุปกรณ์

1) ขวดน้ำ 1 ขวด
2) ลูกโป่ง 1 ลูก
3) หนังยาง 1 เส้น
4) ลูกปิงปอง 2 ลูก
5) กระดาษลัง
6) คัตเตอร์
7) กรรไกร
8) กระดาษกาว
4.วิธีทำ"ขวดบ้าพลัง"
1) ใช้คัตเตอร์ตัดก้นขวดออก
2) ตัดหัวลูกโป่งออก แล้วนำมาสวมที่ขวด
3) ใช้หนังยางลัดลูกโป่งกับขวด จากนั้นนำเทปกาวติดให้แน่น
4) ใช้ลูกปิงปองวางบนกระดาษลังที่เป็นลู่แข่งขัน ที่จุดเริ่มต้น
5) เริ่มการแข่ง
5.กระบวนการสอน
1) ถามเด็ก ๆ ว่า เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง (บนโต๊ะอุปกรณ์ด้านหน้า)
2) ถามเด็ก ๆ ว่า อุปกรณ์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง (ตอบคำถามปลายเปิด)
3) เชื่อมโยงความรู้ ให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ ที่เกิดจากแรงดันอากาศ เมื่อดึงลูกโป่งออก จะเกิดการสะสมพลังงงานที่ลูกโป่ง และอากาศจะเข้าไปแทนที่ เมื่อปล่อย อากาศที่เข้าไปแทนที่จะพุ่งออกเกิดเป็นแรงดันอากาศ
4) ชีวิตประจำวัน  เด็ก ๆ จะทำอะไรได้บ้าง ให้วัตถุเคลื่อนที่ โดยไม่ใช้มือ (เรือใบ)              
5) ประดิษฐ์ : เรามาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่โดยไม่ใช้มือกันดีกว่า (ขวดบ้าพลัง)      
6) เราลองไปหากันดูซิว่า ขวดบ้าพลัง เค้าทำกันแบบไหน (ช่วยกันหาข้อมูล VDO)        
7) ดู VDO จากสื่อที่เราทำ (youtube)
8) สาธิตขั้นตอนการทำ (ทำให้ดูจริงๆ ก่อน )
9) รับอุปกรณ์ (แจกอุปกรณ์หลังการสาธิตป้องกันความวุ่นวาย)
10) ทดลอง (เล่นจริง)
11) สังเกต เก็บข้อมูล (สังเกตลักษณะต่างๆ ของของเล่น)
12) แข่งขัน
13) เปรียบเทียบ โดยการทำตารางกราฟ
14) สรุป : ถามเด็ก ๆ ว่า ลูกปิงปองเคลื่อนที่ได้อย่างไร 

การประยุกต์ใช้
          สามารถบูรณาการเข้ากับหน่วยต่าง ๆ ได้ โดยการเรียนการสอนอาจจะนำวิธีทำสื่อผ่านยูทูปเพื่อสื่อสารกับเด็ก ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ เพื่อเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ทำให้เด็ก ๆ เกิดประสบการณ์ใหม่ มีความน่าสนใจ อยากที่จะเรียนรู้ และสร้างความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี

คำศัพท์

  1. problem:ปัญหา
  2. hypothesis:สมมุติฐาน
  3. test:ทดสอบ
  4. conclusion:ข้อสรุป
  5. compare:เปรียบเทียบ


ประเมิน
ตนเอง : มีการแบ่งกลุ่มใหม่ 8 คน จึงต้องแยกออกจากกลุ่มเพื่อน จึงต้องปรับตัวกับกลุ่มใหม่ และขาดสมาธิไปบ้างในช่วงแรก เพราะไม่ได้ยินเสียงที่เพื่อนพูด และจับหลักยังไม่ได้ ในช่วงหลัง ๆ พอเข้าใจขึ้น เพราะต้องทำความเข้าใจและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่มสุดท้าย
เพื่อน : บรรยากาศตึงเครียด เพราะเนื้อหามีความละเอียด
อาจารย์ : ่มีเนื้อหาที่ต้องวางแผนเพื่อทำสื่อ จึงมีความตึงเครียดเล็กน้อยในบรรยากาศการเรียนค่ะ แต่ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ถูกต้อง












วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • การทำ Cooking  "ทาโกยากิไข่ข้าว"

ก่อนสอน
แบ่งเด็ก ออกเป็น 4 ฐาน
ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์
ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์
ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ


การทำ Cooking  "ทาโกยากิไข่ข้าว"
ขั้นนำ 
  • ร้องเพลงเก็บเด็ก (เพลงสงบเด็ก)

  • เพลงประจำหน่วย



  • วิธีการสอนร้องเพลง
  1. ร้องให้เด็กฟัง : เด็ก ๆ ฟังคุณครูร้องก่อนนะลูก
  2. ให้เด็กร้องตามทีละท่อน : เด็ก ๆ ร้องตามคุณครูทีละท่อนนะคะ
  3. เด็ก ๆ ร้องพร้อมคุณครู : เด็ก ๆ ร้องพร้อมกับคุณครูเลย
ร้องเสร็จให้ถามเด็ก ๆ ว่า : ในเนื้อเพลงนี้ มีอาหารที่มีประโยชน์อะไรบ้างคะ
แล้วเด็ก ๆรู้มั้ย นอกจากนี้ ยังมีอาหารดีมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง ที่เด็ก ๆรู้จัก
ขั้นสอน

เข้าสู่บทเรียน

ให้เด็ก ๆ สังเกตอุปกรณ์ที่วางบนโต๊ะ แล้วถามเด็ก ๆ ว่า
ครู : เด็ก ๆ คิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันคะ ?
เด็ก : ไข่เจียวค่ะ / ข้าวผัด (เด็กๆ ตอบ)
ครู : วันนี้เราจะมาทำ "ทาโกยากิไข่ข้าวกันค่ะ" (แบ่งเด็ก ให้ครบทั้ง 4 ฐาน)
ครู : สอนเด็กทำทาโกยากินก่อน 1 รอบ ก่อนจะ ปล่อยไปตามฐาน 
  • ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์ 
วัตถุดิบและอุปกรณ์

แผ่นชาร์จตัวอย่าง

1)ให้เด็ก ๆ วาดรูป วัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่ใช้ทำ ทาโกยากิไข่้าวลงบนกระดาษนะคะ


ผลงานของเด็ก

ต้องวาดรูปกำกับวัตถุดิบและอุปกรณ์ทุกครั้ง
เพราะเด็กจะเข้าใจภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ


  • ฐานที่ 2 เตรียมอุุปกรณ์

ใช้วัสดุที่เป็นของจริงก่อนหั่น นำมาให้เด็กดู
บางกิจกรรมไม่สามารถทำได้ทุกคน
ครูควรเลือกเด็กมาทำ โดยวางเงื่อนไข
เช่น ใครเรียบร้อยที่สุด คุณครูจะให้มาหั่นแครอท
  • ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส

ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
ในขณะใส่วัสดุต่าง ๆครูควรให้เด็ก ๆนับไปพร้อมๆ กัน
เช่น ไข่ 1 ช้อน ปูอัด 1 ช้อน
  • ฐานที่ 4 ทำทาโกยากิ


ให้คุณครูถามเด็กไปด้วย ตลอดเวลา 
ครู : เราจะรู้ได้ยังไงว่ากระทะร้อนแล้ว
เด็ก : ควันขึ้น
ขั้นสรุป
ทบทวนสิ่งที่ครูสอนมาตั้งแต่แรก เช่น การตั้งคำถาม
ครู : วันนี้เราทำ cooking อะไรกันคะ ?
ครู : วันนี้เราใช้วัตถุดิบอะไรกันไปบ้างคะ
ครู : เด็ก ๆ ชอบทำอะไรมากที่สุดคะ เป็นต้น


การประยุกต์ใช้
      สามารถนำวิธีการต่าง ๆ ไปบูรณาการได้หลายวิชาเช่น วัตถุดิบ สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการช่างตวงวัดได้ บูรณาการวิทยาศาสตร์ เรื่องของมาการีนที่ทอดเมื่อเจอความร้อนจะละลาย บูรณาการศิลปะในเรื่องของการวาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆหรือ การนำจานกระดาษเพื่อมาใส่ทาโกยากิไข่ข่าวที่หมดแล้วไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆได้อีกมากมาย

คำศัพท์
  1. crab:ปูอัด
  2. Hot dog:ฮอทดอก
  3. carrot:แครอท
  4. Onion:หอมหัวใหญ่
  5. tomato:มะเขือเทศ

การประเมิน
ตนเอง : สนุกสนาน ได้ลงมือทำกิจกรรมเอง เป็นประสบการณ์ใหม่ เข้าใจมากค่ะ
เพื่อน : เพื่อนร่วมมือ และสนุกสนานกับกิจกรรมมากค่ะ บรรยากาศเย็น
ครู : รุ่นพี่ปี 5 มาสอน เป็นกันเอง ได้ประสบการณ์ตรง เข้าใจได้ง่าย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 28 กันยายน 2559

"สอบกลางภาค"